กิจกรรมในแต่ละวัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคทางเดินอาหาร

โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด แบ่งออกเป็นหลายโรค ได้แก่ โรคอุจาระร่วง อาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย อหิวาตกโรค จะถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ อาการรุนแรง





การป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารควรเริ่มต้นตั้งแต่การดูแลฟันให้ดี พยายามไม่ทานของหวาน หมั่นแปรงฟันหลังอาหาร และต้องรู้จักแปรงฟัน คือ สีฟันขึ้นๆ ลงๆ ติดตามพบทันตแพทย์เป็นระยะๆ ถึงแม้สบายดี ต้องดูแลฟันให้ดีเพราะถ้าฟันไม่ดี ผู้ป่วยอาจไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ดีเท่าที่ควร และอาจนำไปสู่โรคระบบทางเดินอาหาร หรืออย่างน้อยจะมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี

โรคฉี่หนู


โรคฉี่หนู Leptospirosis

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้าฝน โดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนู สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง

การป้องกันเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนู ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งสกปรก บริเวณที่เป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค และควรปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษะ
หลีกเลี่ยงการเดินย่ำโคลน ดินชื้นแฉะ ด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล รอยขีดข่วน ที่ขา และเท้า ควรสวม รองเท้ายางหุ้มข้อ เพื่อการป้องกันเชื้อโรค

โรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า ในระยะแรกนี้ ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คันและแสบ การรักษาในระยะนี้ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์อ่อนๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบมากขึ้น
การดูแลป้องกันโรคเชื้อราที่เท้าไม่ให้กลับเป็นซ้ำอีกจึงมีความสำคัญ การรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอ โดยการล้างน้ำฟอกสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า เมื่อเช็ดให้แห้งแล้ว ให้ทายารักษาโรคเชื้อรา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผล อาจต้องพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเองซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงต่อตับไต และควรรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดใช้ยาเองแม้ว่าจะดีขึ้น การหยุดยาเร็วเกินไปขณะที่เชื้อยังไม่หมด มีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้ง่าย