กิจกรรมในแต่ละวัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โด่ไม่รู้ล่ม

 
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/7d/Elephantopus_scaber_L..jpg/243px-Elephantopus_scaber_L..jpg
 
สรรพคุณ
           ใช้ทำยาแก้ไอ วัณโรค แก้ไข้เหน็บชา บำรุงหัวใจ บำรุงกำหนัด ห้ามเลือดกำเดา ขับน้ำเหลืองเสีย
ลำต้นและใบ เป็นยาบำรุงเลือด ทำให้อยากอาหาร เหมาะสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
รากและใบต้มเป็นยารักษาโรคบิด ท้องร่วง ช่วยขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก กินแก้กามโรค ส่วนราก หากนำมาตำผสมกับพริกไทยจะแก้อาการปวดฟันได้ หรือนำมาต้มทานหลังคลอด แก้อาเจียนได้

ฝาง

สมุนไพร-ฝาง

ฝาง สมุนไพร ดอกสมุนไพรฝางออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ฝาง สมุนไพร ดอกสมุนไพรฝางออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อสามัญ : Sappan
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ฝางเสน (กลาง), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่),โซปั้ก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : สมุนไพรฝางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนาม ซึ่งโคนหนามนี้พองคล้ายกับฐานนม
ใบ : เป็นไม้ใบรวม ลักษณะการเรียงใบคล้ายกับใบหางนกยูงไทย มีสีเขียว
ดอก : ฝางออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ผล : เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ ฝักของฝางนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” และ แก่นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” ตรงปลายฝักนี้จะยาวแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุยสามารถให้ร่มเงาแก่เราได้ แต่ก็เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ
ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ
ส่วนที่ใช้ : แก่น (เลือกที่มีสีแดงเข้มที่สุด)
สารประกอบทางเคมี:
แก่นฝางพบสารกลุ่ม flavonoid ชนิด 7-hydroxy-3-(4’-hydroxybenzylidene)-chroman-4-one, 3,7-
dihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-chroman-4-one, 3,4,7-trihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-
chroman, 4,4’-dihydroxy-2’-methoxychalcone, 8-methoxybouducellin, quercetin, rhamnetin
และ ombuin (Namikoshi et al., 1987) สารกลุ่ม sterols ชนิด beta-sitosterol 69.9%, campesterol
11.2% และ stigmasterol 18.9% (Oh et al., 1998) brazilin, brazilein, protosappanin E และ
taraxerol
สรรพคุณของสมุนไพร :
เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด  ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน  ยาบำรุงโลหิตสตรี  ขับประจำเดือน  แก้ปอดพิการ  ขับหนอง  แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา  รักษาน้ำกัดเท้า  แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้เลือดกำเดา
ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ
ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ
วิธีใช้เป็นยาขับประจำเดือน ใช้แก่น  5-15  กรัม  ต้มกันน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว)  ประมาณ  4-5  ฝัก  เคี่ยวให้เหลือ  1 แก้ว  รับประทานเช้า – เย็น
วิธีใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น  2  ชิ้น  ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้า (ในแก่นฝางมีตัวยา ฝาดสมาน)
วิธีใช้แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้แก่น  3-9  กรัม  ต้มกับน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เคี้ยวให้เหลือ  1 ถ้วยแก้ว  รับประทานครั้ง ละครึ่งถ้วยแก้ว  หรือใช้ฝาง  1  ส่วนน้ำ  20  ส่วน  ต้มเคี่ยว  15  นาที  รับประทานครั้งละ  2-4  ช้อนโต๊ะ  หรือ   4-8  ช้อนแกง
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทำสีย้อม ฝางมี  2  ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้มเรียกว่า ” ฝางเสน”  อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม”  นำมาต้มสกัดสาร Haematexylin  ใช้ย้อมสี  Nuclei ของเซลล์  หรือต้มให้สีแดงที่ เรียกว่า sappanin  ซึ่งเป็นสารให้สีประเภท  Brazilin  ใช้ทำน้ำยาอุทัยผสมน้ำดื่ม  สีผสมอาหาร  ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ และชาวบ้านนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์

ชะอม

ชะอม

ชื่ออื่น ๆ : ผักหละ, ผักละ, ผักล่า, ผักห้า (ภาคเหนือ), ชะอม (ไทยภาคกลาง), ผักข่า (ร้อยเอ็ด),โพะซุยโด่ะ
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia Insuavis, Lace
วงศ์ : MIMOSEAE

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมอยู่โดยทั่วไป และจะมีกลิ่นเหม็นเขียว
ใบ : ใบเป็นสีเขียว มีก้านใบจะแยกออกเป็นใบอยู่ 2 ทาง จะมีลักษณะคล้ายใบส้มป่อย หรือใบกระถิน นอกจากนี้ใบอ่อน ๆ จะมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นของลูกสตอหรือกระถินแต่จะมีกลิ่นฉุนกว่ามาก ใช้ใบหรือยอดอ่อน ๆ ชุบไข่แล้วทอดกินเป็นอาหารกับน้ำพริก
การขยายพันธุ์ : โดยการตอน หรือปักชำ

ส่วนที่ใช้
: ราก ใช้เป็นยา
สรรพคุณ :
ราก ใช้ฝนกินเป็นยารักษาอาการท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ และรักษาอาการปวดเสียว ในท้องได้ดี
อื่น ๆ : ถ้าเราเก็บเอาใบชะอมไปผูกไว้ในกรงนกขุนทอง นกได้กลิ่นก็จะตาย แต่ถ้านกตัวนั้นเกิดในป่าชะอมจึงจะทนต่อกลิ่นนี้ได้ เพราะนกเคยชินต่อกลิ่นมาตั้งแต่กำเนิด
ถิ่นกำเนิด : พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้ที่ปลูกง่ายและมีการปลูกกันทั่วไปได้ทุกจังหวัด และในกรุงเทพฯ ก็มีปลูกกันไว้บ้างตามเรือกสวนเพื่อเก็บเอายอดอ่อนนำไปขายเป็นสินค้า

กระชายดำ

กระชายดำกับตำนานสรรพคุณ 
กระชายดำกับตำนานสรรพคุณกระชายดำ   เป็นพืชสมุนไพรที่มีการกล่าวถึงสรรพคุณกันอย่างมากมาย ทั้งสรรพคุณทางไสย-เวทย์ สรรพคุณทางสมุนไพร และสรรพคุณทางยาแผนปัจจุบัน  การกล่าวถึงสรรพคุณที่มากมายจนกลายเป็นตำนานสืบทอดต่อกันมานั้น  สามารถบันทึกและรวบรวมไว้ดังนี้


 
        ในสมัยโบราณมีการบันทึกถึงการใช้ว่านกระชายดำในทางคงกระพันชาตรี ต่อต้านศาสตราวุธ และแคล้วคลาดจากคมหอกคมดาบได้เป็นอย่างดี  มีตำนานเล่าขานกันมาว่า  นักรบในสมัยโบราณมักพกกระชายดำติดตัวไปทุกครั้งเมื่อออกสนามรบและจะเคี้ยวอมไว้ในปากเวลาต่อสู้กับข้าศึก  แต่ต้องคำนึงถึงที่มาของว่านด้วย  เพราะการที่ว่านจะมีอิทธิฤทธิ์นั้น จะต้องมีขั้นตอนของการทำพิธีกรรมทางไสยเวทย์ โดยการบรมคาถากำกับ จากครูบาหรือพระครูที่ผ่านการเรียนรู้มาอย่างถูกต้อง 
       มีการกำหนดพิธีกรรมตั้งแต่การลงปลูกครั้งแรก และต้องมีฤกษ์ยามประกอบด้วย การดูแลรักษาจะต้องพิถีพิถันตามหลักการของพิธีกรรม และเวลาเก็บว่านต้องดูฤกษ์ยาม พร้อมกับทำพิธีกรรมบรมคาถากำกับด้วย  สำคัญผู้ที่จะรับว่านไปใช้จะต้องมีการตั้งครูก่อนที่จะรับของดี  และต้องมีวันเวลาบูชาครูตามฤกษ์ยามอีกด้วย  หลักการเช่นนี้มีบันทึกในตำราไสยเวทย์และคาถาอาคมฉบับโบราณ
       ในตำรายาโบราณบางฉบับมีการบันทึกถึงการนำกระชายดำไปใช้เป็นยาสมุนไพร ในหลายตำรับ  ดังเช่นคัมภีร์ยา  “นพเก้า” ที่กล่าวกันว่าเป็นสุดยอดของตำรายาสมุนไพร ซึ่งมีตัวยาทั้งหมด 9 ชนิดและกระชายดำก็เป็นหนึ่งในเก้าชนิดนั้นเช่นกัน  ตำรายาของขอมโบราณก็มีการบันทึกตำรับยากระชายดำผสมน้ำผึ้งเดือนห้าไว้ด้วย
         ส่วนตำราว่านมหามงคลนั้นก็มีบันทึกถึงกระชายดำเช่นกันว่า เป็นว่านมหามงคล มีเมตตามหานิยม  คงกระพันชาตรี  ถ้าปลูกไว้หน้าบ้าน หรือปลูกใส่กระถางนำไปตั้งไว้หน้าบ้านจะเป็นสิริมงคลมีแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาในบ้าน ป้องกันภูตผีปีศาจ ซึ่งบรรดานักเลงว่านทั้งหลายนิยมสะสมกันมานาน และในสมัยก่อนถือว่าเป็นว่านที่หายากมีราคาแพง
         หมอพื้นบ้านมีการนำว่านกระชายดำมาใช้เป็นส่วนผสมของสูตรยาสมุนไพรมานานแล้ว  โดยเฉพาะยารักษาโรคต่าง ๆ และยาชูกำลังหรือยาบำรุงสมรรถภาพทางเพศ แต่จะเก็บไว้เป็นความลับเฉพาะตัวบุคคลไม่เผยแพร่ให้รู้จัก เพราะเชื่อกันว่าตัวยานี้มีครูที่จะต้องเก็บรักษามีคาถาอาคมประกอบ และต้องมีสัจจะต่อครูบาอาจารย์คือไม่ให้เปิดเผยโดยทั่วไป ยกเว้นเสียแต่ว่ามีผู้สืบทอดอย่างเป็นทางการ ซึ่งก่อนจะได้รับการถ่ายทอดวิชาและสอนตำรับยาอย่างเป็นทางการนั้นจะต้องผ่านพิธีกรรม   การสาบานตนเป็นลูกศิษย์อย่างเป็นทางการ และต้องเสียค่าบูชาหรือที่เรียกว่าค่าครูด้วย  มิเช่นนั้นจะถือว่าไม่ศักดิ์สิทธิ์จริง  ด้วยวิธีการถ่ายทอดวิชาความรู้เรื่องสูตรยาสมุนไพรที่ยุ่งยากซับซ้อนนี้  จึงทำให้คนรุ่นหลังไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก ทำให้ตำรายาดี ๆ หลายตำรับหายสาบสูญไปกับเจ้าของสูตรนั้นมามากต่อมากแล้ว   กระชายดำก็เช่นกันแม้จะมีการใช้ทำยามานานแต่ถูกปิดบังโดยเงื่อนไขทางพิธีกรรมที่สืบทอดกันมา จึงทำให้สมุนไพรชนิดนี้ในอดีตไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก  แต่ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ
  วิธีปลูกกระชายดำ
จะใช้ หัวพันธุ์, ต้นพันธุ์ หรือแบ่งเหง้าจากต้นที่เติบโตสมบูรณ์แล้ว นำมาปลูก สามารถปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับหรือปลูกรวมกับว่านชนิดอื่น ๆ ในลักษณะของรังว่านก็ได้ กระชายดำเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ควรเป็นดินร่วนปนทรายเช่น ดินขุยไผ่ ชอบที่ร่มแสงร่มรำไร การดูแลรักษาก็ง่าย แค่รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะ ดายหญ้าและคอยกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักตามสมควร หรือหากดินที่ปลูกอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วอาจไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลยก็ได้ ส่วนแมลงรบกวนนั้นเท่าที่ทราบมาก็มีแต่หอยทากเท่านั้นที่จะมากินใบของกระชายดำ ปัญหาที่พบมากคือเมื่อมีน้ำท่วมขังหรือฝนตกชุกมาก เหง้าของกระชายดำจะเน่า แต่การยกร่องก่อนปลูกจะช่วยได้มาก หากพื้นที่ที่จะปลูกเป็นที่ลาดชัน (slope)อาจไม่ต้องยกร่องก็ได้

ผลไม้ไทย

ผลไม้

    พัดระน์


แตงโม
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แตงโมมีสารที่ว่ากันว่า ให้ความชุ่มชื้นต่อผิวที่แห้งผาก
หรือผิวที่ร้อนระอุในช่วงหน้าร้อนเป็นอย่างดี และแตงโมนั้นก็ยัง
ให้ความเย็นอยู่บนผิวของเราได้นานกว่าผลไม้ชนิดอื่น
โดยวิธีการดังนี้เตรียมผ้ากรองชนิดบางขนาดผ้าพันแผล 2 ผืน
เฉือนเนื้อแตงโมเป็นชิ้นบางๆ พอประมาณ วางลงระหว่างผ้า
ที่เตรียมไว้ โดยให้เนื้อแตงโมอยู่ระหว่างกลางผ้า 2 ชิ้น
หลังจากนั้น นำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่ว เว้นส่วนของรูจมูก
ให้ผ้าและชิ้นแตงโมติดผิวหน้าและทุกส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
หลังจากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด

กล้วย
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
กล้วยทุกชนิดดีต่อสุขภาพ แต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษ
ในเรื่องของสาร ต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักดี
คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้น
หรือเกิน 22 ปีไปแล้ว ความเจริญเติบโตของร่างกาย
จะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆของร่างกาย
ก็เริ่มมาเยือน ช่วงนี้เอง มี 2 สิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นในร่างกายเรา
ซึ่งก็คือเซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ก็จะผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้น
และส่วนที่สองคือ ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอ
ของร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นความสามารถใน
การจำกัดอนุมูลอิสระ ก็ลดลง ในกล้วยไข่ 1 ขีด
มีสารเบต้าแคโรทีนถึง 492 มิลลิกรัม


มะละกอ
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
เป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร
และผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสหวานหอม มีวิตามินเอ และ
แคลเซี่ยมสูง มะละกอผลดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซี่ยม
วิตามินซี และอื่นๆ ผลสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน
เหล็ก แคลเซี่ยม และมีสาร Cerotenoid เป็นสาร
ที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม ต้นมะละกอ ใช้เป็นยาขับประจำ
เดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วย
กัดแผล รักษาตาปลา หูด ฆ่าพยาธิ


ฝรั่ง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ทราบหรือไม่ว่าฝรั่ง 1 ขีด มีวิตามินซีสูงถึง 180 มิลลิกรัม วิตามิน
ซีมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจน ที่ทำให้ผิวพรรณบนใบหน้าของคุณ
เต่งตึงไม่แก่ก่อนวัย และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้าตัวสาร
ต้านอนุมูลอิสระนี้เอง ที่ทำให้คอลลาเจน และอีลาสติเสื่อมสภาพ ผิวหนัง
เหี่ยวแห้ง เกิดริ้วรอยตีนกา วิตามินซีมีความสำคัญต่อการสร้างและบำรุง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์นับล้านตัวเกาะเกี่ยวกันเป็นร่างกายได้ด้วยเนื่อ
เยื่อที่เรียกว่า คอลลาเจนี มันคือ คอลลาเจนตัวเดียวกับคอลลาเจน ที่ทำ
ให้ผิวพรรณบนใบหน้าเต่งตึงนั่นเอง


ส้ม
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
แหล่งวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยธรรมชาติ การรับประทานส้มโดย
ไม่คายกากจะช่วยคุมน้ำหนักได้อีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้รู้สึกอิ่ม
ท้องเร็ว เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างดีทีเดียว
นอกจากนี้ หากรู้สึกหิวก่อนเวลา แทนที่จะนึกถึงเค็กก้อนโต หรือ
โดนัทชิ้นใหญ่ ให้ลองหยิบส้มสักลูกเข้าปากแทนจะได้ประโยชน์
มากกว่าในราคาที่ถูกกว่า ผิวส้มมีน้ำมันหอมระเหย วิตามินซี
และสารอื่นๆ ใช้เป็นยา ผิวผลใช้สกัดทำทิงเจอร์สำหรับแต่งกลิ่นยา
และมีฤทธิ์ขับลม เปลือกส้ม ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด
ตาลาย แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ น้ำจากผล ให้วิตามินซี รับประทาน
ป้องกัน และรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน บำรุงร่างกาย แก้ไอ
และขับเสมหะ



เงาะ
เปลือกผลเงาะนำมาต้มกินน้ำ เป็นยาแก้อักเสบ
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก
และโรคบิดท้องร่วง มีข้อควรระวังอย่าหนึ่ง
คือเม็ดในของเงาะ มีพิษ แม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว
แต่ถ้ากินมากเกินไปจะมีอาการปวดท้องเวียนศีรษะมีไข้
คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นเม็ดเราไม่ควรจะรับประทาน



มะม่วง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
ผลรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้บำรุงกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน
วิงเวียน กระหายน้ำและขับปัสสาวะ ยางจากลูกและต้นผสมน้ำส้ม
หรือน้ำมันแก้คัน ดอกมะม่วง รับประทานแก้ท้องร่วง และเบาหวาน
แก้บิดเรื้องรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และหนองใน เมล็ด รสเปรี้ยว
ชุ่ม สุขุม แก้ไส้เลื่อน ท้องอืดแน่น และขับพยาธิ ใบอ่อนและเปลือก
ชงน้ำร้อนกินแก้ปวด อมบ้วนปากแก้เจ็บคอ ปวดฟัน เจ็บเหงือก
แต่ใบแก่จัดมีสารพิษ


 

ขิง

"ขิง"   เป็นยาอายุวัฒน



ขิง  เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ
ประโยชน์ของขิงนั้นมีมากมายกว่านั้นแต่จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
- ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง

ใบกระเพรา

กระเพรากลิ่นหอม   ลดน้ำตาลในเลือดได้




ข้าวผัดกระเพรา เป็นอาหารที่ทุกคนมักจะรู้จัก และคุ้มเคยอย่างดี สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็นอาหารที่ปรุงง่าย ไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายแถมรสชาติก็อร่อย



นอกจากจะมีกลิ่นหองเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ใบสดของกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่ง ประกอบด้วย linaloo และmethyl chavicol เป็น ยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อน สัก 1 กำมือ มาต้มให้เดือด แล้วกรองเอาน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็ก ทารกให้นำเอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำนำมา ผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของ เด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลาก เกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหาร ได้อีกด้วย
สำหรับใบแห้ง ใช้ชงดื่มกับน้ำ แก้ท้องขึ้น และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้น สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางอย่าง และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ดกะเพรา เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือก ขาว ให้ใช้พอกในบริเวณตา เมื่อตามีผงหรือฝุ่น ละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละออง จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาของเราช้ำ รากกะเพรา ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า กะเพรา มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันได้