กิจกรรมในแต่ละวัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ฝาง

สมุนไพร-ฝาง

ฝาง สมุนไพร ดอกสมุนไพรฝางออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ฝาง สมุนไพร ดอกสมุนไพรฝางออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn.
ชื่อสามัญ : Sappan
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ฝางเสน (กลาง), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่),โซปั้ก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น : สมุนไพรฝางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนาม ซึ่งโคนหนามนี้พองคล้ายกับฐานนม
ใบ : เป็นไม้ใบรวม ลักษณะการเรียงใบคล้ายกับใบหางนกยูงไทย มีสีเขียว
ดอก : ฝางออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง
ผล : เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ ฝักของฝางนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” และ แก่นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” ตรงปลายฝักนี้จะยาวแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุยสามารถให้ร่มเงาแก่เราได้ แต่ก็เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ
ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ
ส่วนที่ใช้ : แก่น (เลือกที่มีสีแดงเข้มที่สุด)
สารประกอบทางเคมี:
แก่นฝางพบสารกลุ่ม flavonoid ชนิด 7-hydroxy-3-(4’-hydroxybenzylidene)-chroman-4-one, 3,7-
dihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-chroman-4-one, 3,4,7-trihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-
chroman, 4,4’-dihydroxy-2’-methoxychalcone, 8-methoxybouducellin, quercetin, rhamnetin
และ ombuin (Namikoshi et al., 1987) สารกลุ่ม sterols ชนิด beta-sitosterol 69.9%, campesterol
11.2% และ stigmasterol 18.9% (Oh et al., 1998) brazilin, brazilein, protosappanin E และ
taraxerol
สรรพคุณของสมุนไพร :
เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด  ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน  ยาบำรุงโลหิตสตรี  ขับประจำเดือน  แก้ปอดพิการ  ขับหนอง  แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา  รักษาน้ำกัดเท้า  แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้เลือดกำเดา
ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ
ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ
วิธีใช้เป็นยาขับประจำเดือน ใช้แก่น  5-15  กรัม  ต้มกันน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว)  ประมาณ  4-5  ฝัก  เคี่ยวให้เหลือ  1 แก้ว  รับประทานเช้า – เย็น
วิธีใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น  2  ชิ้น  ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้า (ในแก่นฝางมีตัวยา ฝาดสมาน)
วิธีใช้แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้แก่น  3-9  กรัม  ต้มกับน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เคี้ยวให้เหลือ  1 ถ้วยแก้ว  รับประทานครั้ง ละครึ่งถ้วยแก้ว  หรือใช้ฝาง  1  ส่วนน้ำ  20  ส่วน  ต้มเคี่ยว  15  นาที  รับประทานครั้งละ  2-4  ช้อนโต๊ะ  หรือ   4-8  ช้อนแกง
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทำสีย้อม ฝางมี  2  ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้มเรียกว่า ” ฝางเสน”  อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม”  นำมาต้มสกัดสาร Haematexylin  ใช้ย้อมสี  Nuclei ของเซลล์  หรือต้มให้สีแดงที่ เรียกว่า sappanin  ซึ่งเป็นสารให้สีประเภท  Brazilin  ใช้ทำน้ำยาอุทัยผสมน้ำดื่ม  สีผสมอาหาร  ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ และชาวบ้านนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น